น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ 28 เม.ย. 66 ปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.12-34.14 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.00 น.) ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 34.14 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ขณะที่ตลาดยังคงรอปัจจัยใหม่ๆ มากระตุ้น หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่รายงานล่าสุด ออกมามีสัญญาณปะปน โดยแม้อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี PCE และ Core PCE Price Index ของสหรัฐ จะขยับขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดในไตรมาส 1/2566 ซึ่งหนุนโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/66 ก็ขยายตัวเพียง 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ +2.0%)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้คาดไว้ที่ 34.00-34.20 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเชีย ผลการประชุมนโยบายการเงินของ BOJ รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน มี.ค. ของไทย และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2566 ของยูโรโซน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลเดือน มี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่ารายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐ ในไตรมาสแรกของปีนี้ จะออกมาน่าผิดหวัง โดยเศรษฐกิจขยายตัวเพียง +1.1% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี แย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ +2.0% แต่ทว่าตลาดหุ้นสหรัฐ ยังคงได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการและคาดการณ์ผลประกอบการที่ดีกว่าคาดของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ อาทิ Meta +13.9%, Amazon +4.6%, Alphabet +3.7% ทำให้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พุ่งขึ้นแรง +2.43% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +1.96%
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.18% หนุนโดยรายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มธนาคารที่ออกมาดีกว่าคาด อาทิ Barclays +5.3%, Deutsche Bank +2.5% ทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลต่อปัญหาระบบธนาคารยุโรป อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปกลับถูกกดดันโดยการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน (TotalEnergies -2.6%, BP -1.8%) หลังราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องใกล้จุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน อีกครั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนทางด้านตลาดบอนด์ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐ และมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤษภาคมสู่ระดับ 5.25% ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ทยอยปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.52% เข้าใกล้โซนแนวต้านแรกแถว 3.50%-3.60% อีกครั้ง โดยเรามองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ อาจแกว่งตัวใกล้โซนดังกล่าว จนกว่าจะรับรู้ผลการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดอาจรอทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว ในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นได้
ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ sideways โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังคงไม่สามารถแข็งค่าขึ้นไปได้มากและติดโซนแนวต้านแถว 101.8 จุด สำหรับดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) หลังบรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดทำให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยลดการถือครองเงินดอลลาร์ลงบ้าง ทำให้เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) กลับมาแกว่งตัวแถวระดับ 101.5 จุด อีกครั้ง ส่วนในฝั่งราคาทองคำ เรายังคงเห็นภาพของผู้เล่นในตลาดที่ต่างรอซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว โดยราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.) ได้มีจังหวะปรับตัวลงสู่โซนแนวรับแถว 1,980 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ แต่สุดท้ายแรงซื้อของผู้เล่นในตลาด กอปรกับการอ่อนค่าลงบ้างของเงินดอลลาร์ก็พอช่วยหนุนให้ ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นสู่ใกล้ระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น คือ รายงาน อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า แม้อัตราเงินเฟ้อ PCE อาจชะลอตัวลงต่ำกว่าระดับ 5.00% แต่ทว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจอยู่ในระดับสูงกว่า 4.5% ทำให้เฟดยังมีความจำเป็นที่ต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ +25bps สู่ระดับ 5.00%-5.25% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม
ส่วนในฝั่งเอเชีย อีกไฮไลท์สำคัญที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งแรกของผู้ว่าฯ BOJ ท่านใหม่ (Kazuo Ueda) โดยแม้เราจะคาดว่า BOJ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% พร้อมกับคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10 ปี ญี่ปุ่น ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% แต่ผู้เล่นในตลาดก็เริ่มคาดหวังว่า BOJ อาจมีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) เร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ซึ่งต้องจับตาว่า BOJ จะมีการปรับนโยบายการเงิน เช่น ปรับกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปี หรือ ยกเลิกการทำ Yields Curve Control ในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะหาก BOJ ปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจหนุนให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมีนาคม
และในฝั่งยุโรป ตลาดมองว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวราว +1.4%y/y ในไตรมาสแรกของปีนี้ หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ ในขณะที่ภาคการผลิตนั้นชะลอตัวลงชัดเจน สอดคล้องกับรายงานดัชนี PMI ในช่วงต้นปี ซึ่งภาพเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังคงขยายตัวอยู่และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นอย่างมาก จะหนุนให้ ECB สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องได้ (ตลาดคาดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate อาจแตะระดับ 3.75% จากระดับ 3.00% ในปัจจุบัน)
นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการและคาดการณ์ผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหากผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดก็อาจหนุนให้บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อได้
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท ในช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยมีทั้งจังหวะอ่อนค่าตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ก่อนที่จะทยอยแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์
ส่วนในวันนี้ ประเมินว่า ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในกรอบเดิม โดยโซนแนวต้านจะอยู่ในช่วง 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์ (สอดคล้องกับแนวต้านเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน) เนื่องจากผู้เล่นในตลาดอาจรอติดตามปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อตลาดการเงินได้ อย่าง การประชุม BOJ, รายงาน GDP ฝั่งยุโรป และรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐ อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าอาจเริ่มชะลอลงบ้าง หลังนักลงทุนต่างชาติต่างชะลอการขายสินทรัพย์ไทย
เรามองว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงที่ตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ เพราะแม้ว่า ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ รวมถึงเรา จะมองว่า ในการประชุมครั้งนี้ BOJ อาจยังไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้ตึงตัวมากขึ้น แต่หาก BOJ มีการส่งสัญญาณที่ชัดเจน พร้อมใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว หรือ ประกาศปรับกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปี เป็น +/-1.00% หรือ ยกเลิกการทำ Yields Curve Control ในการประชุมครั้งนี้ ก็อาจส่งผลให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วราว +2% หรือแข็งค่าทดสอบโซนแนวรับ 132 เยนต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก ซึ่งในกรณีดังกล่าว ก็อาจเห็นค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นราว 20 สตางค์ หรือมีโอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าไปทดสอบแนวรับถัดไปที่ 33.80-33.90 บาทต่อดอลลาร์ได้
เช่นเดียวกันกับช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐ แม้ว่า มองว่า รายงานดังกล่าวอาจไม่ได้เปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดมากนัก ถ้าข้อมูลออกมาตามคาด แต่หากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนมิถุนายน หรือ เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยได้นานขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ เงินดอลลาร์มีโอกาสรีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 101.8-102 จุด ทำให้เงินบาทก็สามารถผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านได้เช่นกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง