ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา “ทุเรียน” ถือเป็นราชาของผลไม้ ที่มียอดการส่งออกไปประเทศจีนสูง และทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ และที่สำคัญชื่อเสียงของทุเรียนไทย ก็เป็นที่ยอมรับในตลาดจีน ทำให้เกิดขบวนการลักลอบนำทุเรียนจากเพื่อนบ้าน เข้ามาสอดไส้ หรือ สวมสิทธิ
ทีมข่าวพูดคุยกับ นายชลธี นุ่มหนู แกนนำเครือข่ายพิทักษ์ทุเรียนไทย ซึ่งให้ข้อมูลว่าปีนี้มีทุเรียนลักลอบนำเข้าผ่านชายแดนไม่ต่ำกว่า 3-4 ตู้คอนเทนเนอร์ รวมประมาณ 72 ตัน
เจ้าของแผงทุเรียน ยัน ไม่เคยส่งขาย "ล้ง"
ล้งเดือด ร้องสอบ จนท.กรมศุลยึดทุเรียนกว่าล้านบาท ยืนยันไม่ได้ลักลอบนำเข้า
ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ และยังมีทุเรียนเถื่อนอีกกว่า 100 ตันที่พักรออยู่ตามแนวชายเพื่อเตรียมเข้ามาในประเทศไทย
ขบวนการลักลอบนำทุเรียนเข้ามาในไทยนั้น จะเริ่มจากผู้ประกอบการ หรือ ล้ง ที่ต้องการลดต้นทุน หาทุเรียนราคาถูกเข้ามา โดยเชื่อว่าอาจมีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็น เพราะไม่เช่นนั้น คงผ่านด่านเข้ามาไม่ได้
ทุเรียนที่นำเข้ามา จะสวมสิทธิ์ทุเรียนไทย 2 รูปแบบ คือ แบบแรก มีการขนทุเรียนข้ามแดนมาผ่านช่องทางธรรมชาติ ลักษณะกองทัพมด หรืออาจสำแดงเท็จ เป็นสินค้าชนิดอื่น แล้วซุกซ่อนทะเรียนมาด้วย เมื่อเข้ามาถึงไทย ก็จะบรรจุลงกล่อง สวมใบ GAP เป็นทุเรียนไทย แล้วส่งออกไปจีน
และอีกรูปแบบ คือ จะไม่ขนทุเรียนเข้ามาไทยโดยตรง แต่พักรออยู่ที่ประเทศต้นทาง ใช้วิธีนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่า หรือ ใส่ทุเรียนที่ด้อยคุณภาพเอาไว้ แล้วก็นำไปขอเอกสารส่งออก ซึ่งในขั้นตอนนี้ในวงการรู้กันว่า จะมีค่าใช้จ่ายจำนวน 3 แสนบาท
เมื่อได้เอกสารแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์นี้ไม่ได้ถูกส่งออกไปจริง แต่เอาเอกสารไปสวมตู้ทุเรียนที่รออยู่ในประเทศต้นทาง ซึ่งจะใช้หมายเลขตู้เดียวกันกับตู้ปลอมที่ขอออกเอกสาร แล้วส่งไปจีน
ส่วนประเด็นเรื่องการปลอมใบรับรอง GA และการนำมาใช้วนซ้ำนั้น นายชลธี อธิบายว่า ตามปกติแล้ว ทุเรียน 1 ตู้คอนเทนเนอร์ หนัก 18 ตัน อาจมีทุเรียนมาจากหลายสวน หากจะทำให้ถูกต้องก็คือ ต้องมีเอกสาร GAP จากทุกสวน แต่หลายครั้งในทางปฏิบัติมักใช้แค่ใบเดียวทั้งตู้ จึงเป็นช่องโหว่เกิดการสวมสิทธิ์
มาดูกันว่า ทำไมจึงต้องนำทุเรียนจากต่างประเทศ มาสวมสิทธิเป็นทุเรียนไทย อย่างที่บอกว่า ทุเรียนไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดจีนค่อนข้างมาก ที่สำคัญไทยเป็นประเทศแรก ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าผลสดทุเรียน และเมื่อดูจากตัวเลขการส่งออกและนำเข้าแล้วก็จะเห็นว่า แต่ละปีมียอดส่งออกนับแสนล้านบาท
อย่างในปี 2019 ประเทศจีนนำเข้าทุเรียนสดจากไทย จำนวน 600,000 ตัน ปี 2022 จำนวน 700,000 ตัน และในปี 2023 ยังคงไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมนำเข้ามากที่สุดก็คือ หมอนทอง ก้านยาว และลับแลทำให้มูลค่าการส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีน เฉพาะปี 2565 สูงถึง 1 แสน 8 พันล้านบาท หรือปริมาณ 791,787 ตันคำพูดจาก สล็อตเว็บไซต์โดยตรง
ลองมาดูราคาทุเรียนไทยที่ส่งไปขายในประเทศจีนกันหน่อยว่า จากทุเรียนราคากิโลกรัมละ 100 กว่าบาท พอไปถึงประเทศจีนแล้วมีราคาอยู่ที่เท่าไร
ข้อมูลจากคนไทยในประเทศจีนบอกว่า การขายทุเรียนในประเทศจีน ปกติจะขายเป็นชั่ง หรือ ครึ่งกิโลกรัม ราคาทุเรียนหมอนทอง ในประเทศจีน จะมีราคาตั้งแต่ 40 – 60 หยวน ต่อ 1 ชั่ง หรือประมาณ 193 – 289 บาท ต่อ ครึ่งกิโลกรัม เท่ากับว่า กิโลกรัมละเกือบ 600 บาท ซึ่งราคาก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณทุเรียนในตอนนั้นว่ามีมากมีน้อย ตามกลไกตลาด
แต่ปัจจุบันตลาดจีน ไม่ได้มีเพียงทุเรียนไทยเท่านั้น แต่มีทุเรียนเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นคู่แข่ง โดยเฉพาะทุเรียนจากประเทศมาเลซียและเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว โดยเฉพาะเวียดนาม มีความได้เปรียบไทย เพราะชายแดนอยู่ใกล้กับจีนมากกว่า การขนส่งใช้เวลาสั้นกว่า ส่วนมาเลเซีย ก็เป็นอีกประเทศที่น่าจับตา เพราะทุเรียนจากที่นี่จะมีรสชาติหวานกว่า ราคาแพงกว่า และเจาะกลุ่มตลาดบน
จะเห็นว่า จากมูลค่าการส่งออก ประกอบกับตลาดที่เปิดกว้าง กลายเป็นช่องที่ทำให้หลายคนเห็นลู่ทาง และต้องการหาทุเรียนมาส่งออกให้ได้มากที่สุด เมื่อทุเรียนในประเทศไม่เพียงพอ ขบวนการนำเข้าทุเรียนเถื่อนก็สอดแทรกเข้ามา ซึ่งเครือข่ายเกษตรกรก็กังวลว่า การสอดไส้ หรือ สวมสิทธิทุเรียนไทย อาจส่งผลให้คุณภาพทุเรียนของไทยไม่ได้มาตรฐาน และถูกคู่แข่งตีตลาดเข้ามาแทนได้.