ในวันที่ 24 ม.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกร้องปมถือหุ้นไอทีวี เป็นเหตุให้พ้นสมาชิกภาพความเป็นสส.สิ้นสุดลงหรือไม่
วันนี้พีพีทีวีได้พูดคุยกับนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มองแนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าว โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นถึงแนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีดังกล่าว
ไทม์ไลน์คดีหุ้น ITV “พิธา” จากจุดเริ่มต้น จนถึงวันนัดชี้ชะตา 24 ม.ค. คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ศาลสั่งคุมเข้ม วันตัดสิน 3 คดีสำคัญ “ศักดิ์สยาม-หุ้นพิธา-ก้าวไกล”
ศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัย คดี “พิธา” ถือหุ้นไอทีวี 24 ม.ค. 67
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา มองว่า การวินิจฉัยว่าไอทีวียังเป็นสื่ออยู่หรือไม่ ถ้าดูตามข้อเท็จจริงไอทีวีหยุดประกอบกิจการโทรทัศน์ไปแล้ว 16 ปี และมีการคืนคลื่นความถี่ไปแล้ว แต่ยังคงมีวัตถุประสงค์ที่เป็นสื่ออื่นๆ อยู่อีก 5 ข้อ จึงทำให้มีประเด็นว่า แม้จะไม่ได้ประกอบกิจการโทรทัศน์แล้ว แต่ยังมีการทำสื่ออื่นอยู่หรือไม่ หากมีขึ้นมาก็จะกลายเป็นสื่ออยู่
ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูว่า คำให้การของ นายคิมห์ สิริทวีชัย ซึ่งเป็นประธานการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทไอทีวี ที่ตอบคำถามที่มีผู้ถามว่าไอทีวียังเป็นสื่อหรือไม่ว่า บริษัทยังดำเนินการตามวัตถุประสงค์บริษัท จึงกลายเป็นประเด็นว่าแม้ไอทีวีไม่ได้ทำทีวีแล้ว แต่ยังเป็นสื่ออื่นได้ตามวัตถุประสงค์บริษัท ประกอบกับการรายงานงบการเงินไตรมาสแรกปี 2566 มีการระบุว่ามีรายได้จากการทำสื่อโฆษณา จึงกลายเป็นว่าไอทีวีจะกลายเป็นสื่อแล้ว ซึ่งต้องดูต่อไปว่ามีการทำจริงไหม มีรายได้จริงไหม แต่คำตอบในเอกสารการประชุมกลับขัดแย้งกับคลิปที่ถูกบันทึกในการประชุมที่ระบุว่า ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกว่าศาลจะพิพากษา ซึ่งส่วนนี้มีการไต่สวนพยานไปแล้ว อยู่ที่ศาลจะพิจารณาอย่างไร
ขณะที่การไต่สวน นายคิมห์ มีการไปให้การเป็นพยาน ในฝ่ายผู้ถูกร้อง ซึ่งแสดงว่านายพิธาต้องมั่นใจว่านายคิมห์ ต้องให้การที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองแน่ เพราะหากนายคิมห์ให้การว่าไอทีวียังเป็นสื่ออยู่ก็จะไม่ตรงกับการตอบคำถามในการประชุมดังกล่าว ดังนั้นตนคิดว่าในประเด็นที่ว่าไอทีวีเป็นสื่อหรือไม่ ตัวชี้ขาดคือนายคิมห์ ว่าจะให้การอย่างไร ถ้าให้การว่าดำเนินการอยู่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ สำหรับตัวนายคิมห์ด้วย
ส่วนกรณีที่วัตถุประสงค์ไอทีวียังเป็นสื่ออยู่นั้น เราต้องดูแนวคำวินิจฉัยที่ผ่านมาของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหลังจากคดีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กรณีถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดียฯ เคยมีคำร้องกรณีหุ้นของ สส.ฝั่งรัฐบาล ที่โดนร้องว่าถือหุ้นสื่อ 32 คน เมื่อปี 2563 แต่ปรากฎว่าตามคำวินิจฉัยที่ 18-19/2563 ศาลยกคำร้องไป 29 คน แม้ว่าทั้ง 29 คน จะถือหุ้นในบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ที่เข้าข่ายเป็นสื่อมวลชนใดๆ โดยศาลวางหลักว่า มาตรา 98(3) ที่ไม่ต้องการให้ สส.ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนนั้น เป้นเพราะว่าการให้ ส.ส.ซึ่งทำงานการเมืองใช้สื่อมวลชนในการโน้มน้าวประชาชน หรือมีอิทธิพลครอบงำสื่อเพื่อเอื้ผลประโยชน์ทางการเมืองให้ตัวเอง ดังนั้นจึงต้องดูด้วยว่ามีการดำเนินการเป็นสื่อมวลชนหรือไม่ จะดูแค่ว่ามีวัตถุประสงค์เป็นสื่อนั้นไม่เพียงพอ ศาลจึงมองว่าทั้ง 29 บริษัทแม้จะมีวัตถุประสงค์ดำเนินการเป็นสื่อมวลชน แต่ไม่ได้มีการดำเนินกิจการสื่อมวลชนตามวัตประสงค์ อีกทั้งรายได้จากงบการเงินประจำปีก็ไม่ปรากฎจึงยกคำร้อง
ในกรณีการถือหุ้นไอทีวีของนายพิธา หากศาลจะวินิจฉัยต่างออกไปจากคำวินิจฉัยที่ 18-19/2563 ก็แปลว่ามีข้อมูลใหม่ มีแนวทางใหม่ ซึ่งก็ต้องรอฟังดูว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าเอาตามบันทัดฐานคำวินิจฉัยที่ 18-19/2563 และเอาตามข้อเท็จจริงที่เรารู้ ไอทีวีไม่ใช่สื่อ แต่เราก็ไม่ทราบได้ว่าศาลมีข้อเท็จจริงอะไรมากกว่าที่เรารู้หรือไม่ หรือจะมีการเปลี่ยนแนว ซึ่งก็จะมีคำถามตามมาว่าทำไมเปลี่ยนแนวจากคำวินิจฉัยที่ 18-19/2563
ส่วนประเด็นการถือหุ้นนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไอทีวีไม่ใช่สื่อมวลชนก็จบ ไม่ว่าจะถือหุ้นเท่าไหร่ แต่หากบอกว่าไอทีวีเป็นสื่อ ก็จะต้องมาดูว่าเป็นการถือหุ้นหรือไม่ เพราะข้อต่อสู้ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้นสู้ได้ เพราะเป็นการถือแทน แต่การที่นายพิธาเป็นทายาทในกองมรดกด้วยข้อต่อสู้ก็จะยากขึ้นหน่อย แต่ข้อต่อสู้ก็มีเพราะไม่ทราบว่าที่บอกว่าสละสิทธิในมรดกดังกล่าวไปแล้ว ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร อีกอย่างคือข้อต่อสู้ทางแพ่งในกองมรดกที่ยังไม่แบ่งนั้นจะไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของในส่วนไหน ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องฟังกัน
ส่วนกรณีถือหุ้นแค่ เพียง 0.003% นั้น มีประเด็นแม้คนจะบอกว่าถือหุ้นเพียงหุ่นเดียวก็ถือว่าถือหุ้นแล้ว แต่ว่าศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้เคยวินจฉัยในคำร้องของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ก่อนการเลือกตั้งปี 2566 กรณีที่กกต.ไม่รับสมัคร สส.โดยให้เหตุผลว่าถือหุ้นเอไอเอสที่มีกิจการเป็นสื่อซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งก็วินิจฉัยว่า หุ้นที่เขาถือมีเพียง 400 หุ้นซึ่งน้อยมากเกินกว่าที่จะมีอิทธิพลใดๆ ที่จะครอบงำสื่อได้ จึงน้อยเกิดกว่าจะครอบงำหรือมีอิทธิพลใดๆ วึ่งเป็นการวินิจฉัยตามเจตนารมณ์เป็นหลัก และหากเทียบเคียงกับกรณีถือหุ้นของรัฐมนตรีกฎหมายกำหนดว่าห้ามถือหุ้นเกิด 5% ขึ้นไป ดังนั้นหากเทียบเคียงก็อาจมองได้ว่าการถือหุ้นเกิน 5% ขึ้นไปจึงจะถือได้ว่าเริ่มมีบทบาทและมีอิทธิพลแล้ว ดังนั้นหากเทียบกับหุ้น 0.003% ก็ต้องถือว่ามีน้อยเกินกว่าจะมีอิทธิพลหรือไปครอบงำสื่อ
“แต่เนื่องจากเป็นคนละศาลกันก็ไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยตามศาลฎีกา แต่หากวินิจฉัยต่างไปจากนี้ก็ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น ถึงขนาดแตกต่างได้ สังคมถึงจะยอมรับ”
ดังนั้นข้อวินิจฉัยของศาลรับธรรมนูญจะมี 2 ข้อคือ ข้อ 1. ไอทีวีเป็นสื่อหรือไม่ หากวินิจฉัยว่าไม่เป็นสื่อก็จบ แต่หากวินิจฉัยว่าเป็นสื่อ ก็จะต้องวินิจฉัยในข้อ 2.เรื่องการถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก หรือปริมาณหุ้นเพียง 0.003% ถือว่าเป็นการถือหุ้นหรือไม่ หากวินิจฉัยข้อ 1 ว่าไอทีวีเป็นสื่อมวลชน และวินิจฉัยข้อ 2 ว่านายพิธาถือหุ้นไอทีวี นายพิธาก็จะต้องพ้นตำแหน่ง สส.ไปเลยจากที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ไป
แต่หากศาลบอกว่าไอทีวีไม่ใช่สื่อมวลชน ก็ยกคำร้อง หรือไอทีวีเป็นสื่อมวลชน แต่เป็นการถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก หรือสละกรรมสิทิไปแล้ว หรือการถือหุ้นเพียง 0.003% ไม่ถือเป็นการถือหุ้น และไม่สามารถไปครอบงำได้ ศาลก็จะยกคำร้องเหมือนกัน ทั้งนี้หากมีการยกคำร้องนายพิธาก็จะกลับมาเป็น สส.อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงการเป็นว่าที่นายกฯอีกครั้งหนึ่งได้ด้วย
เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023
ผลบอลเอเชียน คัพ 2023 ทาจิกิสถาน ตาม กาตาร์ เข้ารอบ 16 ทีม
กรมการจัดหางาน รับสาวไทยทำงานที่ญี่ปุ่น สมัครฟรี! ถึง 26 ม.ค. นี้