หนึ่งในกิจกรรมวันเข้าพรรษาที่พุทธศาสนิกชนนึกถึง นอกจากการถวายผ้าอาบน้ำฝนแล้ว แน่นอนว่าคงเป็นการแห่เทียนพรรษา เพราะระหว่างพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา สิ่งสำคัญที่ขาดแคลนคือแสงสว่าง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงนิยมถวายเทียนพรรษาจนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
แต่การแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงโด่งดังมานานนับร้อยปี ที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่เรียกว่าจะยาวนานที่สุดของประเทศก็ว่าได้ คือ “ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี”
วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้เรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของเอกลักษณ์อันโดดเด่นนี้ ที่ไม่แพ้ที่ไหนๆ อย่าง การตักบาตรดอกพรรษาที่จังหวัดสระบุรี, การตักบาตรบนหลังช้างจังหวัดสุรินทร์, แห่เทียนทางน้ำ จังหวัดอยุธยา และ การใส่บาตรเทียน จังหวัดน่าน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ฃ
“ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี
หนึ่งเดียวในโลก! "ตักบาตรบนหลังช้าง" ประเพณีวันเข้าพรรษา จ.สุรินทร์
หนึ่งเดียวในไทย! “ใส่บาตรเทียน” ประเพณีวันเข้าพรรษา เสน่ห์เมืองน่าน
“แห่เทียนพรรษาทางน้ำ” ประเพณีงานบุญ เอกลักษณ์โดดเด่นของชาวอยุธยา
ประเพณีที่มีจุดเริ่มต้น ก่อนพุทธศตวรรษที่ 24
แม้จะไม่มีช่วงเวลาที่แน่ชัดว่าประเพณีอันทรงคุณค่านี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่คำบอกเล่าของ นายประดับ ก้อนแก้ว ศิลปินช่างทำเทียน ผู้สั่งสมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีมากว่า 60 ปีได้รวบรวมและเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัด
พบว่า จุดเริ่มต้นของการทำเทียน เกิดขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 แรกเริ่มชาวบ้านอุบลราชธานีแต่ละบ้านจะทำเทียนพรรษาไปถวายพระสงฆ์ ก่อนปราชญ์ชาวอุบลราชธานีจะเริ่มรวมตัวกันจัดทำเทียนแบบรวมกลุ่ม รวมเทียนเล่มสั้นทำเป็นเทียนพุ่ม เทียนเล่มยาวนำมามัดรวมกันเข้าเป็นรูปทรงกลมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง ผูกติดไว้กับโครงไม้เพื่อป้องกันเทียนหัก เพื่อแฝงนัยยะสำคัยทางความคิดสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ
จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 24 กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ของรัชกาลที่ 5 ผู้มาปกครองหัวเมืองมณฑลอีสานและประทับที่เมืองอุบลราชธานี ได้ดำริให้มีการแห่ขบวนเทียนพรรษารอบเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 หลังจากนั้นก็ได้เกิดวิวัฒนาการประดิษฐ์เทียนขึ้นมา ด้วยการทำเป็นรางไม้ (โฮงไม้) แกะสลักเทียนพรรษาเป็นลวดลายสวยงาม และการจัดขบวนแห่เทียนด้วยรถยนต์แทนเกวียนให้เราได้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามความยิ่งใหญ่ยังไม่จบลงเท่านี้ แต่เดิมประเพณีแห่เทียนพรรษาจะจัดขึ้นในช่วงบุญเดือนแปดหรือวันเข้าพรรษา แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 25 ได้ขยายระยะเวลาการสืบสานพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยขึ้น บางปีมียาวนานถึง 5 วัน 5 คืน เช่นในปี 2535 หรือบางครั้งก็ยาวนานถึง 10 วันก็มี เช่นในปี 2542 แต่ในปีนี้จะจัด 4 วัน 4 คืนเท่านั้น
วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันที่เท่าไร ถือเป็นวันหยุดไหม ทำไมบางบริษัทไม่ได้หยุด
"มาฆบูชา 2567" เตรียมของทำบุญ-ถวายพระ เสริมสิริมงคล
คำพูดจาก สล็อตวอเลท
อุบลราชธานีจัดงานแห่เทียนพรรษา 30 ก.ค.-3 ส.ค.นี้
จังหวัดอุบลราชธานีประกาศอย่างเป็นทางการ สำหรับการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำจังหวัด ในปี 2566 โดยจะเริ่มจัดขึ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2566 ภายใต้ชื่องาน “122 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” บริเวณ สนามทุ่งศรีเมือง ถนนรอบทุ่งศรีเมือง มีรายละเอียดกำหนดการ ดังนี้
- วันที่ 1 สิงหาคม 2566
- เวลา 16.00 น. โฮมเทียน (รวมต้นเทียน) บริเวณรองทุ่งศรีเมือง
- เวลา 19.00 น. การแสดง เสียง สี เสียง
- วันที่ 2 สิงหาคม 2566
- เวลา 08.30 น. พิธีเปิดงานแห่เทียนพรรษาอุบล 2566 ขบวนแรกเทียนพระราชทาน และตามด้วยขบวนเทียนพรรษาต่างๆ
- เวลา 18.00 น. ประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการ (ถนนหน้าศาลากลางหลังเก่า)
- เวลา 19.00 น. การแห่เทียน ภาคกลางคืน ณ (ถนนหน้าศาลากลางหลังเก่า)
- วันที่ 3 สิงหาคม 2566 วันโชว์เทียน (ชนะเลิศ รองชนะเลิศ)
- กิจกรรมโชว์เทียนที่ได้รับรางวัล รอบทุ่งศรีเมือง, ริมมูล
กิจกรรมคู่ประเพณีแห่เทียนพรรษา
เสน่ห์ของประเพณีแห่พรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ได้มีเพียงแค่การริ้วขบวนที่สวยงาม แต่ยังมีกิจกรรมคู่ประเพณีที่ทรงคุณค่าอีก ได้แก่
- การประกวดสาวงามเทียนพรรษาและงานพาแลง
กิจกรรมที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากการที่เมื่อก่อนคุ้มวัดต่างๆ จะนำเด็กสาวในชุมชนมานั่งเป็นนางฟ้าประจำต้นเทียนในขบวนแห่เทียนพรรษา ภายหลังจึงได้จัดการประกวดสาวงามเทียนพรรษาขึ้น พร้อมทั้งจัดงานเลี้ยงพาแลง (อาหารมื้อเย็น) เพื่อรับรองนักท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมนี้มักจะจัดในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา 2 วัน
- กิจกรรมเยี่ยมชมบ้านคำปุน อำเภอวารินชำราบ
“บ้านคำปุน” แหล่งผลิตและพิพิธภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองที่เป็นภูมิปัญญาของชาวอุบลราชธานี ที่ทุกคนสามารถเข้าไปเยี่ยมชมความงดงามของผ้าทอพื้นเมืองลวดลายต่างๆ ที่หาชมได้ยาก โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก นางคำปุน ศรีใส ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ.2537ศิลปินแห่งชาติ (หัตศิลป์-ถักทอ) ประจำปี 2561และนายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2544 ผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงยังสามารถชมศิลปวัฒนธรรมอีสาน เช่น การฟ้องกลองตุ้ม งานดอกไม้ และการทำเทียนพรรษาแบบโบราณ
กิจกรรมนี้จะจัดเพียง 3 วัน คือ ก่อนวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เป็นกิจกรรมที่อยู่คู่กับงานประเพณีแห่พรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีมาแล้ว 25 ปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2541
- การแสดงเทียนพรรษารอบทุ่งศรีเมือง
กิจกรรมก่อนวันเข้าพรรษา ที่คุ้มวัดต่างๆ จะนำเทียนพรรษาที่เข้าร่วมในงานประเพณีมาจัดแสดงไว้ที่บริเวณโดยรอบของทุ่งศรีเมืองซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมาถ่ายรูปก่อนได้ แต่ช่วงเวลาคืนก่อนวันเข้าพรรษาจะคนเยอะหน่อย ถ้าไม่อยากถ่ายภาพติดผู้คน แนะนำให้มาชมเทียนพรรษาในช่วงเช้ามืดของวันเข้าพรรษาจะดีที่สุด
- การประกวดเทียนพรรษา
นอกจากการแกะสลักและจัดริ้วขบวนที่สวยงามแล้ว เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับช่างทำเทียนพรรษา จึงมีการจัดประกวดเทียนพรรษาขึ้น เพื่อให้ช่างทำเทียนได้มาประชันความงดงามของศิลปะกันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทางผู้จัดจะแบ่งการประกวดเป็น เทียนพรรษาประเภทแกะสลักและเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และเทียนโบราณ ขนาดเล็กและขนาดใหญ่
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรไปชมขบวนแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีกันสักครั้ง เพราะไม่เพียงแต่เราจะได้เห็นความงดงามของการแกะสลักเทียนแล้ว เรายังสามารถชมขบวนแห่เทียนประเภทต่างๆ มากมาย ถือเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนที่หาจากที่ไหนไม่ได้ อีกทั้งยังสามารถไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ภูมิปัญญาของชาวอุบลราชธานีใกล้เคียงได้ด้วย
"วันเข้าพรรษา" บุญประเพณี ความเชื่อ บทสวดถวายเทียนพรรษา คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อาสาฬหบูชา 2566 บทสวดเวียนเทียน สวดบทไหนเสริมมงคลให้กับตัวเอง